วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2024

ส่องงบปี 65 ทย. ลุยพัฒนา10สนามบิน 5.2 พันล้าน


ส่องงบปี 65 ทย. 5.2 พันล้าน ลุยพัฒนาโปรเจคท์เดิมต่อเนื่อง 6 สนามบิน ขยายเทอร์มินอล-ต่อรันเวย์ พร้อมจ้างที่ปรึกษาเดินเครื่องโครงการใหม่ 4 สนามบิน “ชุมพร-ระนอง-มุกดาหาร-บึงกาฬ” หนุนแลนด์บริดจ์-รองรับผู้โดยสารพุ่งหลังโควิดซา    พฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2564 เวลา 11.45 น.

ส่องงบปี 65 ทย. ลุยพัฒนา10สนามบิน 5.2 พันล้าน

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่า เบื้องต้น ทย.ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ประจำปี 65 จำนวน 5,200 ล้านบาท ซึ่งลดลงประมาณ 10% จากปีงบประมาณ 64 หรือประมาณ 500 ล้านบาท สำหรับงบประมาณที่ ทย.ได้รับการจัดสรรนั้น เป็นงบรายการผูกพันเดิมที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปี 64 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาท่าอากาศยานต่างๆ ทั้งการขยายอาคารผู้โดยสาร และการขยายความยาวรันเวย์ (ทางวิ่ง) ประมาณ 3,200 ล้านบาท ประกอบด้วย ท่าอากาศยานกระบี่, ท่าอากาศยานขอนแก่น, ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช, ท่าอากาศยานตรัง, ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ทำให้การก่อสร้างเดินหน้าต่อไปได้ ไม่มีผลกระทบใดๆ

นายอภิรัฐ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้เป็นงบรายการใหม่ ประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยการพัฒนาท่าอากาศยานตามแผนในปี 65 มี 5 โครงการ ประกอบด้วย 1.ค่าจ้างออกแบบขยายทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่นๆ และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ท่าอากาศยานชุมพร จ.ชุมพร 1 แห่ง, 2. ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดก่อสร้างขยายท่าอากาศยาน พร้อมศึกษารายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานอีไอเอ ขยายท่าอากาศยาน อาคารผู้โดยสาร และส่วนประกอบอื่นๆ ท่าอากาศยานระนอง จ.ระนอง 1 แห่ง 

นายอภิรัฐ กล่าวอีกว่า 3. ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบผังแม่บททางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่นๆ และศึกษารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานมุกดาหาร จ.มุกดาหาร 1 แห่ง 4. ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบผังแม่บททางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่นๆ และศึกษารายงานอีไอเอ โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานบึงกาฬ จ.บึงกาฬ 1 แห่ง และ 5.โครงการครุภัณฑ์ทดแทนในท่าอากาศยานต่างๆ เช่น เปลี่ยนอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องเอกซเรย์ หรือเครื่องสแกนสัมภาระที่ใช้งานมานาน 

นายอภิรัฐ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ ทย.ยังไม่มีแผนก่อสร้างโครงการใหม่ กำลังเดินหน้าเร่งรัดงานก่อสร้างโครงการเดิมที่ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงาน โดยในปี 65 ส่วนใหญ่จะเป็นการจ้างที่ปรึกษาในการออกแบบรายละเอียดการพัฒนาท่าอากาศยานต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับกับการเติบโตของผู้โดยสารในอนาคตหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง นอกจากนี้ในส่วนของการขยายรันเวย์ ท่าอากาศยานชุมพร และการขยายอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานระนอง ยังเป็นการรองรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ซึ่งเวลานี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันด้วย.

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    0%

  • ไม่เห็นด้วย

    100%

มุกดาหาร

มุกดาหาร

หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน

WordPress › ผิดพลาด

เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงบนเว็บไซต์นี้

Learn more about troubleshooting WordPress.